โครงการวันบันดาลใจได้ร่วมมือกับจิตอาสาวิชาชีพ พัฒนางานทางด้านกายภาพ กิจกรรม และการจัดการทรัพยากร  เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีใน ๔ ระดับ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย ใจ ปัญญาและสังคม

แนวคิดวัดบันดาลใจ

วัดบันดาลใจ เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยสถาบันอาศรมศิลป์ และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เชื่อมโยงการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการสร้างสุขภาวะองค์รวมให้กับสังคม วัดถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่เป็นรากฐานของการพัฒนามนุษย์มาตั้งแต่อดีตโดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำทางปัญญาและการปฏิบัติตนนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีใน ๔ ระดับ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย ใจ ปัญญาและสังคม

จึงเกิดเป็นแนวความคิดของโครงการวัดบันดาลใจ  ที่ต้องการผลักดันให้เกิดกลไกการพัฒนาทรัพยากร วัดที่มีกว่า ๔๐,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ โดยเริ่มจากการทำงานร่วมกับวัดกรณีศึกษา๙ วัดในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ และกลุ่มจิตอาสาวิชาชีพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นมาและขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพ กิจกรรม และการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม จนเกิดเป็นพื้นที่ตัวอย่างของการปรับปรุงพัฒนาวัดในบริบทต่างๆ

ปัจจุบันวัดบันดาลใจมีวัดศูนย์การเรียนรู้ และวัดกรณีศึกษา ที่พร้อมเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ดูงานให้แก่วัดและชุมชนทั่วประเทศ มีฐานข้อมูลของเครือข่ายวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับวัดและโครงการ ที่ยินดีให้คำปรึกษา รวมถึงโครงการมีการพัฒนาชุดความรู้ หลักสูตรวัดบันดาลใจ คู่มือการเรียนรู้  (How To) จากการถอดบทเรียนการทำงาน เผยแพร่ในรูปแบบสื่อต่างๆ เพื่อให้พระและชุมชน สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาวัดได้ด้วยตัวท่านเอง หรือมีความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นต่อการทำงานร่วมกับนักออกแบบวิชาชีพวิศวกร หรือผู้รับเหมาก่อสร้างได้ในอนาคต

เราทำอะไร
องค์ประกอบการทำงาน

วัดศูนย์การเรียนรู้
พื้นที่เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ

ส่งเสริมสนับสนุนวัดในเครือข่าย
ของโครงการสู่การเป็นวัดศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะ ๔

การสื่อสาร
Website/Facebook/Lines

การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมโครงการ
ผ่านทาง Facebook “วัดบันดาลใจ”
ช่อง “Youtube Wat Bun Dan Jai”

กิจกรรม
การขับเคลื่อนสัปปายะ และการเรียนรู้
การพัฒนาทางจิตวิญญาณ

จัดกิจกรรม ขับเคลื่อนสัปปายะ/การเรียนรู้การพัฒนาทางจิตวิญญาน เช่น กิจกรรมรวมพลังสัปปายะ (Big Cleaning day) กิจกรรมผ้าป่าวัดบันดาลใจ กิจกรรมจริยศิลป์
กิจกรรม Active Learning กิจกรรมดูเป็นต้น

พื้นที่กลาง
ประสาน/ให้คำปรึกษา/ผลักดดันเชิงนโยบาย

เป็น พื้นที่กลาง ในการประสาน ให้คำปรึกษา
และพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาวัด
ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นรมณีย์
เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรม ตามหลักของพุทธศาสนา

การจัดการความรู้
การออกแบบ/กิจกรรม/การจัดการ

การจัดการความรู้ ด้านการออกแบบ
กิจกรรม การจัดการผ่านการถอดบทเรียน
จากการทำงานร่วมกับเครือข่าย

หลักสูตร
ออนไลน์/การอบรมเชิงปฎิบัติการ

พัฒนาและจัดหลักสูตร การอบรม
ทั้งทางออนไลน์ และจัดเวิร์คชอป
ณ วัดศูนย์การเรียนรู้

วัดศูนย์การเรียนรู้
พื้นที่เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ

ส่งเสริมสนับสนุนวัดในเครือข่าย
ของโครงการสู่การเป็นวัดศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะ ๔

กิจกรรม
การขับเคลื่อนสัปปายะ และการเรียนรู้
การพัฒนาทางจิตวิญญาณ

จัดกิจกรรม ขับเคลื่อนสัปปายะ/การเรียนรู้การพัฒนาทางจิตวิญญาน เช่น กิจกรรมรวมพลังสัปปายะ (Big Cleaning day) กิจกรรมผ้าป่าวัดบันดาลใจ กิจกรรมจริยศิลป์
กิจกรรม Active Learning กิจกรรมดูเป็นต้น

การจัดการความรู้
การออกแบบ/กิจกรรม/การจัดการ

การจัดการความรู้ ด้านการออกแบบ
กิจกรรม การจัดการผ่านการถอดบทเรียน
จากการทำงานร่วมกับเครือข่าย

การสื่อสาร
Website/Facebook/Lines

การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมโครงการ
ผ่านทาง Facebook “วัดบันดาลใจ”
ช่อง “Youtube Wat Bun Dan Jai”

พื้นที่กลาง
ประสาน/ให้คำปรึกษา/ผลักดดันเชิงนโยบาย

เป็น พื้นที่กลาง ในการประสาน ให้คำปรึกษา
และพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาวัด
ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นรมณีย์
เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรม ตามหลักของพุทธศาสนา

หลักสูตร
ออนไลน์/การอบรมเชิงปฎิบัติการ

พัฒนาและจัดหลักสูตร การอบรม
ทั้งทางออนไลน์ และจัดเวิร์คชอป
ณ วัดศูนย์การเรียนรู้

ขั้นตอนการสมัครเป็นเครือข่ายวัดบันดาลใจ
ขั้นตอนที่ ๑
วัดที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยกรอกใบสมัครส่งมายังโครงการ
ขั้นตอนที่ ๒
โครงการพิจารณาใบสมัคร ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของโครงการ และติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อขออนุญาตสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับท่านเจ้าอาวาสหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นตอนที่ ๓
ในกรณีที่ผ่านการพิจารณาจากใบสมัครโครงการจะนัดหมายเพื่อขอลงพื้นที่ ประเมินความพร้อมของวัดและคณะทำงานที่จะขับเคลื่อนงานให้เกิดเป็นรูปธรรมร่วมกัน และประเมินงานที่จะต้องวางแผนดำเนินการร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพของโครงการ
ขั้นตอนที่ ๔
เมื่อวัดผ่านการพิจารณาทั้ง ๒ ขั้นตอน โครงการขอนิมนต์ท่านเจ้าอาวาสและผู้ประสานงานจากทางวัด ลงทะเบียนในหลักสูตรวัดบันดาลใจทางออนไลน์ หลักสูตรวัดบันดาลใจ เพื่อรับข้อมูลและการถวายความรู้ในทำงานตามแนวทางวัดบันดาลใจในเบื้องต้น (หลักสูตรมี.....บทเรียน..... ชั่วโมง)
ขั้นตอนที่ ๕
เมื่อวัดได้ผ่านหลักสูตรวัดบันดาลใจเรียบร้อยแล้ว โครงการจะดำเนินการติดต่อนักออกแบบวิชาชีพหรือเครือข่ายวิชาชีพอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงาน ตามขอบเขตงานที่วัดเห็นชอบให้โครงการเข้าไปช่วยดำเนินการ
ขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนาวัดกับโครงการวัดบันดาลใจ
ขั้นตอนที่ ๑
เมื่อวัดได้เข้าร่วมหลักสูตรวัดบันดาลใจ และได้จัดทำข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาวัดจากการเข้าเรียนในหลักสูตรเรียบร้อยแล้วโครงการจะนำข้อมูลส่งต่อให้นักออกแบบไปศึกษา และนัดหมายลงพื้นที่วัดเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงการออกแบบผังแม่บทและการปรับปรุงภูมิทัศน์ร่วมกับวัดและคณะทำงานวัด
ขั้นตอนที่ ๒
จัดทำกระบวนการไขโจทย์การออกแบบ ร่วมกับวัด ชุมชนและองค์กรในพื้นที่ที่จะเข้าร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน เพื่อทบทวนโจทย์ของวัดและชุมชน ทิศทางการพัฒนาให้ชัดเจน การวางเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เพื่อนักออกแบบจะนำโจทย์และข้อมูลที่ได้ไปจัดทำผังแม่บทการพัฒนา
ขั้นตอนที่ ๓
วัดจัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการของวัดในการขับเคลื่อนแผนงานโครงการร่วมกัน ได้แก่ การตัดสินใจแนวทางการทำผังแม่บท การออกแบบภูมิทัศน์/อาคารสถานที่การจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนา วางแผนจัดสรรงบประมาณการระดมทุน
ขั้นตอนที่ ๔
เมื่อนักออกแบบได้ร่างผังแม่บทครั้งที่ ๑ จะประสานวัด เพื่อนัดหมายคณะทำงาน/คณะกรรมการมาร่วมประชุม รับฟังการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนักออกแบบจะนำไปปรับแก้การปรับปรุงผังแม่บทควรให้อยู่ในการดำเนินงานไม่เกิน ๓ ครั้ง และการทำงานในขั้นตอนนี้จะอยู่ในระยะเวลา ๓-๖ เดือน
หลักคิดสิ่งหนึ่งที่วัดญาณเวศกวันวางไว้ คือ
อยากจะให้วัดมีพื้นที่เป็นสัปปายะ มีต้นไม้
ที่ร่มรื่น บรรยากาศเย็นสบาย พอญาติโยม
เดินเข้ามามองเห็นว่า “วัดเป็นศาสนสถานที่
ผู้คนมีส่วนร่วม มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน
ไม่ใช่พระเป็นเจ้าของ” พระเพียงแต่ทำหน้าที่
บำเพ็ญศาสนกิจอย่างเดียว
พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (อินศร)
ถ้าเรายอมรับว่าการที่เราสร้างอะไรขึ้นมา เพื่อจะใช้งาน
ให้มันเป็นประโยชน์แก่กันและกัน พระต้องยอมรับ
เรื่องของคำว่า “ช่วยฝันให้ดี เป็นสถาปนิกให้เหมาะสม”
พระจำเป็นต่อการเป็นสถาปนึก แต่ขออย่าให้พระ
เป็นสถาปนิกเสียเอง ให้สถาปนิกเขาไปลงรายละเอียดแล้ว
เราก็มาดูกันว่า อันไหนที่เราคิดผิดเขาทำได้ถูกกว่า
หรือบางอย่างเราคิดได้ถูกกว่าก็ปรึกษาเขาไป
สองฝ่ายต้องปรึกษากันให้มาก
พระปัญญานันทมุนี (สง่า สุภโร)
หลักคิดของหลวงพ่อสมเด็จฯ ที่วางไว้สำหรับวัดญาณเวศกวัน คือ
เมื่อเข้าวัดมาแล้วต้องเกิดความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจ มาทำบุญ
ต้องได้บุญ มาวัดแล้วต้องสุขในทางที่ชอบ สุขในทางที่ถูกที่ควรในทาง
ศีลธรรม หลวงพ่อบอกว่า “เราอย่าหยุดแค่ที่ทานจงไปต่อศีล อย่าหยุด
แค่ที่ศีลจงไปต่อที่ภาวนา จงไปให้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา”
ดังนั้น วัดจึงเป็นสถานที่ทำให้เข้าถึงได้จริง ไม่ใช่สถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะศักดิ์สิทธิ์ได้เพราะเกิดจากการปฏิบัติ
คุณพงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์ (พี่เบิ้ม)
อาศรมศิลป์เราเป็นสถาปนิกที่ทำเรื่องการออกแบบ
ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เราสนใจว่า วัดเป็นรากฐาน
ที่สำคัญในการพัฒนาคน “เราจะทำอย่างไรให้วัด
เป็นสถานที่ที่สัปปายะ เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เ
ป็นพื้นที่ทำกิจกรรม และจะทำยังไงให้คนอยากเข้าวัด
สามารถเข้าถึงธรรมได้อย่างแท้จริงตามหลักพุทธศาสนา”
ปริยาภรณ์ สุขกุล